3 เหตุผล กับการเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศในปีนี้

ในช่วงต้นปีดูเหมือนว่าธนาคารกลางสหรัฐ ยังน่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง จากเรื่องของเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มไม่ชะลอตัว

ก่อนที่มุมมองจะเปลี่ยนแปลงไปในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาจากประเด็นเรื่องของความกังวลเกี่ยวกับภาคธนาคาร ซึ่งปัจจุบันนักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกเพียงครั้งเดียวในการประชุมในสัปดาห์นี้ ก่อนที่จะหยุดเพื่อรอดูสถานการณ์ในช่วงที่เหลือของปี รวมถึงโอกาสที่จะปรับลดดอกเบี้ยก็เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า โดยแม้ความผันผวนในตลาดการเงิน และความไม่แน่นอนในภาคสถาบันการเงินจะทำให้ความกังวลเกี่ยวกับปัญหา

Bank Run และผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจสูงขึ้น แต่หากมองผ่านความผันผวนในระยะสั้น และพิจารณาจากปัจจัยแวดล้อม สินทรัพย์ที่น่าสนใจในปีนี้ คือ กลุ่มตราสารหนี้ต่างประเทศ ที่น่าจะได้รับประโยชน์จากทั้งเรื่องของดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นมาอยู่ในระดับสูง เศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มชะลอลง และเป็นการลงทุนที่ช่วยลดความผันผวนจากความไม่แน่นอนได้ด้วย

ปัจจัยแรก ดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นมามากทำให้ความเสี่ยงต่อการขาดทุนลดลงมาก องค์ประกอบของผลตอบแทนของการลงทุนในตราสารหนี้ประกอบด้วยกันสองส่วน ได้แก่ ดอกเบี้ยที่ได้รับ และ การเปลี่ยนแปลงของราคา โดยราคานั้นจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้ามกับอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด กล่าวคือ ถ้าดอกเบี้ยในตลาดปรับตัวสูงขึ้น (ลดลง) ราคาของตราสารหนี้ก็จะลดลง (สูงขึ้น)

โดยอัตราดอกเบี้ยในของพันธบัตรในต่างประเทศปรับตัวขึ้นมามากตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายโดยเฉพาะในสหรัฐฯ ทำให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนจากส่วนแรกสูงกว่าเมื่อก่อนมาก และมีความสามารถรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยในตลาดได้ หากเทียบกับสมัยก่อนที่ดอกเบี้ยพันธบัตรอยู่ในช่วง 1-2% การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย (ขึ้นอยู่กับอายุของตราสาร) ก็อาจจะทำให้นักลงทุนขาดทุนได้

แต่ปัจจุบันดอกเบี้ยอยู่ในระดับ 4-5% ขึ้นไป ก็ทำให้โอกาสที่จะขาดทุนนั้นลดลงไปมาก ไม่นับว่า ณ สถานการณ์ปัจจุบันโอกาสที่ดอกเบี้ยจะขึ้นต่อไปมากๆ นั้นมีน้อยมาก หากพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ แม้ล่าสุดดูเหมือนว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะยังคงส่งสัญญาพร้อมขึ้นดอกเบี้ย แต่การปรับขึ้นดังกล่าวก็อาจทำได้จำกัดและอาจส่งผลกระทบต่อตลาดในระยะสั้นเท่านั้น

ปัจจัยที่สอง เศรษฐกิจที่ชะลอตัวและเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มลดลง ผลตอบแทนพันธบัตรที่อายุยาวกว่าดอกเบี้ยนโยบายนั้น เช่น อายุ 5 ปี 10 ปี ไม่ได้เปลี่ยนแปลงตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายเสียทั้งหมด สิ่งที่ส่งผลกระทบมากไม่ยิ่งหน่อยไปกว่ากันคือเรื่องของ แนวโน้มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า และการคาดการณ์เงินเฟ้อ (Inflation Expectation) ในอนาคต

ข่าวการเงิน

โดยผลตอบแทนพันธบัตรอายุยาวๆ นั้นจะต้องสูงเพียงพอที่จะชดเชยปัจจัยพื้นฐานทั้งสองปัจจัยนี้ ซึ่งหากมองไปในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะในสหรัฐฯ และยุโรป น่าจะเข้าสู่ช่วงวัฏจักรของการชะลอตัว โดยสหรัฐฯ คาดว่าจะเติบโตได้เพียง 0.8% และ 2.9% ในปีนี้และปีหน้าตามลำดับ (ข้อมูลจาก Bloomberg ณ วันที่ 20 มี.ค. 23) เทียบกับปี 2021 ที่ขยายตัว 6.2% และ ปี 2022 ที่ 3.4% ตามลำดับ

ในขณะที่ตัวเลขเงินเฟ้อล่าสุดอยู่ที่ 6.0% เทียบกับสูงสุดในกลางปีที่แล้วที่ 9.1% ในขณะที่นักวิเคราะห์ในตลาดมองว่าปีนี้เงินเฟ้อสหรัฐฯ น่าจะค่อยๆ ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 4.0% แม้ตัวเลขล่าสุดอาจจะมีความเสี่ยงที่ไม่ชะลอตัวอย่างที่คาด แต่แนวโน้มการชะลอตัวลงของเงินเฟ้อนั้นไม่มีใครปฏิเสธได้ เพียงแต่ช้าหรือเร็วเท่านั้น ดังนั้นตอบแทนพันธบัตรต่างๆ ก็น่าจะค่อยๆ ปรับตัวลดลงและอาจสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่มให้กับการลงทุนได้

ปัจจัยที่สาม พันธบัตรอาจช่วยลดความเสี่ยงของพอร์ตฟอลิโอต่อโอกาสของภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession Hedge) และความไม่แน่นอนต่างๆ หนึ่งในการลงทุนที่ดีในภาวะที่เศรษฐกิจถดถอยและช่วงที่ความไม่แน่นอนสูงดังเช่นในช่วงที่ผ่านมา คือ การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลๆ เนื่องจากหากเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย

สิ่งหนึ่งที่มักจะมาพร้อมกับคือการกระตุ้นเศรษฐกิจ และในพื้นที่ของการดำเนินนโยบายการเงินก็คือการปรับลดดอกเบี้ยลงนั่นเอง ในขณะที่หากนักลงทุนกังวลเกี่ยวกับปัญหาหรือความไม่แน่นอนต่างๆ ก็จะลดการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงไปลงทุนในกลุ่มพันธบัตรรัฐบาลเพื่อลดความเสี่ยงจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายลง (Flight to quality)

อย่างไรก็ตามในกรณีอาจจะไม่ใช่ทุกชนิดของตราสารหนี้ที่จะให้ผลตอบดี โดยเฉพาะในกลุ่มหุ้นกู้เอกชนที่อาจจำเป็นจะต้องเลือกการลงทุนให้ดีเนื่องของส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยกับพันธบัตรรัฐบาล (Credit Spreads) ที่อาจสูงขึ้นได้นั่นเอง ดังนั้นหากนักลงทุนไม่มั่นใจหรือกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย การเพิ่มน้ำหนักในส่วนของตราสารหนี้ภาครัฐฯ ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ โดยหากลงทุนผ่านกองทุนก็อาจเน้นเลือกกองทุนที่มีพันธบัตรรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่

สุดท้ายนี้ความผันผวนในระยะสั้นเป็นสิ่งที่หลักเลี่ยงได้ยากในตลาดการเงิน แต่การจัดสรรพอร์ตฟอลิโอที่ดีจะช่วยให้ความผันผวนไม่สูงเกินไปนัก และน้ำหนักการลงทุนต้องมองไปในระยะข้างหน้ามากกว่าระยะสั้นๆ ที่ปัจจัยต่างๆ นั้นคาดการณ์ได้ยากด้วยครับ แนะนำข่าวเพิ่มเติม>>> กลุ่มการเงินแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ พร้อมขยายพอร์ตสินเชื่อ Higher yield

กลุ่มการเงินแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ พร้อมขยายพอร์ตสินเชื่อ Higher yield

กลุ่มธุรกิจทางการเงินแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ชูกลยุทธ์ปี 66 ขยายพอร์ตสินเชื่อกลุ่ม Higher yield ส่วนฐานลูกค้ารายย่อยเติบโตผ่าน Digital Platform

เมื่อวันที่ 2 มี.ค. 66 นายฉี ชิง ฟู่ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ LHFG กล่าวว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 66 มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องราว 3.7% โดยได้แรงหนุนจากภาคการท่องเที่ยวการจ้างงานและการลงทุนภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะทยอยปรับลดลงตามราคาพลังงาน

อย่างไรก็ตาม ยังต้องเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย เช่น การฟื้นตัวของรายได้ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจบางกลุ่มที่เปราะบาง การดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของประเทศคู่ค้าหลัก โดยเฉพาะสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป รวมถึงความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์จากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน

สำหรับกลยุทธ์ในปีนี้ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เน้นการนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินและการลงทุนที่ครบวงจรเหมาะสมกับสถานการณ์และจังหวะการลงทุนให้กับลูกค้าผ่าน Digital Platform

รวมถึงกลยุทธ์การ Synergy ภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินและ CTBC บริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพื่อร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่ม รวมทั้งขยายฐานลูกค้า ที่ทำธุรกิจต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น หรือ Trade Finance นอกจากนี้ มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่อรูปแบบใหม่ๆ และสินเชื่อสำหรับกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพแต่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน

สำหรับผลการดำเนินงานปี 2565 ที่ผ่านมากลุ่มธุรกิจทางการเงินแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ มีกำไรสุทธิ 1,579 ล้านบาท หรือเติบโต 14.1% เมื่อเทียบกับปี 64 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ย ด้านการขยายตัวของสินเชื่อเติบโต 23% ซึ่งเติบโตทุก Segments

โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้ารายย่อยมีอัตราการเติบโตสูงกว่า 47% กลุ่มลูกค้า SME เติบโต 35% และกลุ่มลูกค้าไต้หวันเติบโตสูงถึง 95% และระดับ NPL อยู่ในระดับต่ำ ที่ 2.09% ลดลงจากปีที่แล้วที่ร้อยละ 2.44 ธนาคารได้ตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญ เพื่อรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นของลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ทำให้ NPL Coverage อยู่ที่ 221%

LH Bank พร้อมขยายพอร์ตสินเชื่อ Higher yield

นางสาวชมภูนุช ปฐมพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LH Bank กล่าวว่า กลยุทธ์ของธนาคารปี 2566 มุ่งเติบโตในพอร์ตสินเชื่อที่สร้างผลตอบแทนที่ดี หรือ กลุ่ม Higher yield ที่มีการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม รวมถึงการ Cross selling ผลิตภัณฑ์ของธนาคาร และการเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียม

รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพด้านดิจิทัล (Digital Transformation) ที่เน้นการปรับกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว และด้านการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) ควบคู่ไปกับการยกระดับ Digital Platform ให้ตอบโจทย์การทำธุรกรรมการเงินและการลงทุนที่ครบวงจร

นอกจากนี้ ธนาคารยังให้ความสำคัญกับการเติบโตอย่างยั่งยืน Sustainable Banking ดำเนินงานอย่างมีสำนึกและมีส่วนช่วยรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และหลักธรรมาภิบาลที่ดี รวมทั้งสนับสนุนสินเชื่อด้าน ESG

LH Fund ขยายพอร์ตกองทุนส่วนบุคคล ลูกค้าสถาบัน และ Ultra High Net Worth

นายมนรัฐ ผดุงสิทธิ์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด หรือ LH Fund กล่าวว่า กลยุทธ์ปี 2566 เน้นขยายฐานลูกค้ากองทุนส่วนบุคคล ทั้งสถาบันและลูกค้า Ultra High Net Worth โดยลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลจะได้รับคำแนะนำด้าน Tactical Asset Allocation และ Portfolio Strategy จากพันธมิตรที่แข็งแกร่งจากต่างประเทศ

การเงิน-แอนด์-เฮ้าส์

โดยร่วมกับผู้จัดการกองทุนของ LH Fund ในการบริหารพอร์ตเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะของลูกค้าแต่ละราย ทั้งนี้ บริษัทยังคงเดินหน้าพัฒนาระบบการบริการดิจิทัล ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทุนแก่ลูกค้า

ผลการดำเนินงานการบริหารจัดการกองทุนปี 2565 บริษัทมี AUM ประมาณ 55,658 ล้านบาท ลดลง 13% จากปี 2564 สำหรับกองทุนส่วนบุคคล หรือ Private Fund มีขนาดกองทุนอยู่ที่ 14,223 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 51 ส่วนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ PVD มีขนาดกองทุนอยู่ที่ 6,046 ล้านบาท เติบโต 4%

LH Securities เตรียมรองรับลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ

นายกานต์ อรรถธรรมสุนทร กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LH Securities กล่าวถึงแผนกลยุทธ์ปี 2566 ว่า เราพร้อมบริการทางการลงทุนต่อลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ผ่านการใช้ Data Analytics ควบคู่ไปกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การลงทุนให้ตอบรับทุกสภาวะของตลาดการลงทุน เพื่อสร้างผลตอบแทนที่เหมาะสมแก่ลูกค้า

โดยจะพัฒนาระบบเชื่อมโยงกับ Mobile Banking Application LHB You ของ LH Bank เพื่อเพิ่มช่องทางบริการผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลให้กับลูกค้าให้ได้รับบริการด้านการเงินและการลงทุนอย่างครบวงจร และยังเป็นการขยายฐานลูกค้ารายย่อย

สำหรับผลการดำเนินงานปี 2565 บริษัทมีรายได้ค่านายหน้ารวม 186.1 ล้านบาท ลดลงจากปี 2564 ตามปริมาณการซื้อขายของตลาดหุ้นที่ซบเซาเมื่อเทียบกับฐานที่สูงในปี 2564 บริษัทมีรายได้ดอกเบี้ยรับและเงินปันผล รวม 414.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.8% จากปี 2564 ส่งผลให้บริษัทมีกำไรสุทธิจำนวน 134.6 ล้านบาท

อ่านข่าวเพิ่มเติม : ดอลลาร์แข็งค่าจากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย จากวิกฤตโควิดในจีน

ดอลลาร์แข็งค่าจากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย จากวิกฤตโควิดในจีน

ดอลลาร์แข็งค่าจากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย จากวิกฤตโควิดในจีน

การเงิน

 ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นในการซื้อขายช่วงต้นของตลาดยุโรปวันจันทร์ เนื่องจากความกังวลว่าสถานการณ์โควิด ที่ทวีความรุนแรงขึ้นในจีนจะทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกหยุดชะงัก ส่งผลให้กระแสความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น เมื่อเวลา 03:05 น. ET (08:05 GMT) ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งติดตามค่าเงินดอลลาร์เทียบกับกลุ่มสกุลเงินอื่น ๆ อีก 6 สกุล เพิ่มขึ้น 0.5% เป็น 107.365 ใกล้ระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 11 พ.ย. เมืองต่าง ๆ ในจีนมีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด19 รายใหม่เพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่จีนพบผู้เสียชีวิตจากโควิด19 รายแรกในรอบเกือบ 6 เดือนในวันเสาร์ และอีก 2 รายในวันอาทิตย์ การติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้มีการล็อกดาวน์ครั้งใหม่ในศูนย์กลางทางการเงินหลายแห่ง รวมถึงกรุงปักกิ่งและศูนย์กลางเศรษฐกิจเซี่ยงไฮ้ ทำให้เกิดความกลัวว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงและกระทบต่อการขับเคลื่อนการเติบโตที่สำคัญในภูมิภาค USD/CNY เพิ่มขึ้น 0.6% เป็น 7.1643 โดยเงินหยวนร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 10 วัน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้น แต่ Goldman Sachs คิดว่าค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินเอเชียในขณะนี้อาจอยู่ได้ไม่นาน

“การกำหนดกรอบเวลาของการขึ้นสู่นะดับสูงสุดของ USD นั้นยังไม่แน่นอน แต่บนบาล๊านซ์ USD จะขึ้นสู่จุดสูงสุดเมื่อมีความชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศจากเฟดที่ประมาณ 3 ถึง 6 เดือนนับจากนี้” นักวิเคราะห์ของ Goldman เขียนในหมายเหตุเมื่อวันอาทิตย์ ธนาคารกลาง จะเผยแพร่รายงานการประชุมเดือนพฤศจิกายนในวันพุธนี้ และอาจให้เบาะแสเพิ่มเติมว่าขณะนี้ผู้กำหนดนโยบายอาจพิจารณาชะลอการกระชับนโยบายการเงินหรือไม่ EUR/USD ลดลง 0.5% เป็น 1.0272 ใกล้ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ 14 พ.ย. หลังจาก ดัชนีผู้ผลิต (PPI) เยอรมนี ลดลงอย่างไม่คาดคิดในเดือนต.ค. ที่ 4.2% จากเดือนต.ค. เดือน เทียบกับที่คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.9% ใน ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) รายปี ราคาเพิ่มขึ้น 34.5% ต่ำกว่าที่คาดไว้ 41.5% ท่ามกลางข่าวที่น่ายินดี แต่ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ยูโรโซน ก็พุ่งสูงขึ้นกว่า 10% เมื่อเทียบเป็นรายปี ณ สิ้นเดือนที่แล้ว ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 9.9% ในเดือนกันยายน กระตุ้นให้ คริสตีน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรปได้บอกใบ้ถึงการปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ย เพิ่มเติมในวันศุกร์ GBP/USD ลดลง 0.5% เป็น 1.1826 USD/JPY เพิ่มขึ้น 0.3% เป็น 140.80 ในขณะที่สกุลเงินที่อ่อนไหวต่อความเสี่ยง AUD/USD ลดลง 0.5% เป็น 0.6637 OECD จะเผยแพร่การคาดการณ์ล่าสุดสำหรับเศรษฐกิจโลกในวันอังคารนี้ โดยให้ภาพรวมของสภาพเศรษฐกิจโลก